ถ้าคุณเข้าใจสภาพเครื่องพิมพ์ดีด กับ คอมพิวเตอร์ คุณก็จะเข้าใจ POS กับ เครื่องแคช ถึงแม้ว่าเครื่องเก็บเงินถึงจะเปลี่ยนหน้าตา อย่างไร ข้างในจะไม่เหมือน POS เพราะไม่มี Harddisk
- POS คือ ระบบขายหน้าร้าน ชื่อเต็มของ POS คือ Point of sale ซึ่งหมายถึง จุดขายหรือจุดชำระเงิน
- ซึ่งนำหลักการของเครื่องคิดเงิน (Cash Register) มาเขียนโปรแกรมพัฒนาบนคอมพิวเตอร์
- แล้วเพิ่มเติมความสามารถต่างๆที่เครื่องเก็บเงินทำไม่ได้ เช่น สามารถตัดสต็อกได้ ดูความเคลื่อนไหวต่างๆของสินค้า หรือ ระบบสมาชิก
- ตลอดจนดูข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ท ซึ่งความสามารถเหล่านี้ เครื่องเก็บเงินไม่สามารถทำได้
- ถึงแม้ว่าเครื่องเก็บเงินในปัจจุบัน ได้พัฒนารูปทรงให้เหมือนคอมพิวเตอร์ บางยี่ห้อทำเป็นหน้าจอระบบสัมผัสได้
- แต่ข้างในยังเป็นเครื่องเก็บเงินอยู่ คือไม่มี Harddisk ถึงจะเปลี่ยนรูปทรงอย่างไร ก็ไม่ใช่่เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ดี
- โปรแกรมขายสินค้า POS มีหน้าที่เก็บข้อมูลการขาย และ ข้อมูลสต็อกเป็นหลัก
- โดยจะเก็บข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการขายทั้งหมด เช่น ข้อมูลของสมาชิก ยอดซื้อสะสม ของลูกค้าที่มาใช้บริการในแต่ละวัน
ดังนั้นโปรแกรม POS ที่ดี ควรใช้โปรแกรมฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เช่น MySQL Server ,SQL Server เป็นต้น

ประเภทของโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้าน
แบบที่ 1 เป็นโปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ ( POS หรือ Point of sale )
- โปรแกรมประเภทนี้จะถูกออกแบบและพัฒนาโปรแกรม มาเพื่องานขายหน้าร้านโดยเฉพาะ
- การทำงานจะง่ายและไม่ซับซ้อน มีความหยืดหยุ่นสูงกว่า เน้นการทำงานที่รวดเร็วในการขาย
- วิธีสังเกตุของโปรแกรมประเภทนี้ หน้าตาโปรแกรมจะสบายตา ไม่เป็นตารางๆ
- ออกแบบหน้าตาโปรแกรมให้ใช้งานง่าย จะไม่มีคำว่า ลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือคำอื่นๆที่เป็นภาษาบัญชี
POS เหมาะสำหรับร้านค้าทั่วไป ที่เป็นเจ้าของคนเดียว หรือ เป็นนิติบุคคล ที่จ้างสำนักงานบัญชีภายนอก ทำบัญชี ส่งให้สรรพากรอีกที
แบบที่ 2 เป็นโปรแกรมบัญชี ที่มีส่วนของหน้าร้าน ( Accounting Software)
- โปรแกรมประเภทนี้ จะใช้การหลักทำงานของโปรแกรมบัญชีทั้งหมดมาใช้กับงานขายหน้าร้าน
- ซึ่งโปรแกรมเก็บเงินส่วนใหญ่ในตลาดเป็นแบบนี้ ทำให้มีความยุ่งยากในการใช้งานมาก
- ไม่คล่องตัว มีข้อจำกัดเยอะ มีขั้นตอนในการใช้งานมาก
- วิธีสังเกตุของโปรแกรมประเภทนี้ ดูได้จากคำว่า ลูกหนี้ , เจ้าหนี้ , ใบเสนอราคา หรือ ระบบเช็คธนาคาร เป็นต้น
- เหมาะสำหรับร้านค้าที่เป็นรูปบริษัท และ ทำบัญชีส่งสรรพากรเอง ไม่เหมาะอย่างยิ่งกับบุคลธรรมดา หรือ ร้านค้าขนาดเล็ก
- เพราะโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อ ให้มีการทำงานของหลายๆแผนก โดยเฉพาะแผนกบัญชี ที่ต้องนำข้อมูลทั้งหมดนี้ ไปทำงบการเงินส่งสรรพากรอีกที
- ดังนั้นโครงสร้างของโปรแกรม จึงไม่เหมือนกัน วิธีการคิด และ วิธีออกแบบโปรแกรม ก็ต่างกันมาก เพราะแต่ละโปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นมา มีจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน
สรุป
- ถ้าเราเปิด ร้านค้าทั่วไป เป็นบุคคลธรรมดา แนะนำให้ใช้โปรแกรมเก็บเงินหน้าร้านโดยเฉพาะ (POS)
- ถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท แต่จ้างสำนักงานบัญชีภายนอกทำงบส่งสรรพากร แนะนำให้ใช้โปรแกรม (POS)
- ถ้าเปิดเป็นรูปบริษัท และ ทำบัญชีส่งสรรพากรเอง แนะนำให้ใช้โปรแกรมบัญชี ที่มีส่วนของหน้าร้าน
อ้างอิงจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2eb4b11b5e660669ภาพจาก automationcad.com
เครื่องคิดเงิน (Cash Register)
- เครื่องคิดเงินหรือเครื่องบันทึกเงินสด เป็นเครื่องเก็บเงิน ตรงจุดขาย
- มีหน้าที่บันทึกการขาย เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ใช่คอมพิวเตอร์
- ดังนั้นเครื่องเก็บเงินจะไม่มี Harddisk จึงเก็บข้อมูลได้ไม่มาก
- และไม่สามารถตัดสต็อกได้ ดูยอดขายได้อย่างเดียว
- ส่วนรายชื่อสินค้าบางรุ่นจะพิมพ์เป็นภาษาไทยไม่ได้
- เพราะไม่มีคีย์บอร์ดในตัวเครื่อง มีแต่ปุ่มกดตัวเลข
- ต้องพิมพ์ออกมาเป็นรหัสตัวเลขแทน
- ทางร้านต้องรู้ว่ารหัสตัวเลขนี้ คือสินค้าอะไร
- ทำให้ไม่สะดวกเวลาดูรายงาน จะไม่รู้ว่าขายอะไรไปบ้าง
- และจะไม่มีรายงานการวิเคาระห์ข้อมูลต่างๆ เช่น สินค้าอะไรที่ขายดี
- เครื่องเก็บเงินจะไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ได้
ขอบคุณแหล่งที่มาจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องบันทึกเงินสด